ชื่อเรื่อง
|
รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนชาติตระการวิทยา
|
ผู้ศึกษาค้นคว้า
|
นางพิมพ์นารา นุปิง
|
ตำแหน่ง
|
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะชำนาญการ
|
ปีที่พิมพ์
|
พ.ศ. 2556
|
คำสำคัญ
|
เศรษฐกิจพอเพียง, การประเมินโครงการ, บริหารจัดการ
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนชาติตระการวิทยา อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้การประเมินตามรูปแบบจำลองซิปป์ (CIPP model) ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม(Stufflebeam) กลุ่มประชากรผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 50 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นบุคคลภายนอกโรงเรียน จำนวน 15 คน และนักเรียนกลุ่มตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชาติตระการวิทยา อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 938 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามจำนวน 6 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 แบบสอบถามประเมินบริบท จำนวน 11 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินปัจจัยนำเข้า จำนวน 36 ข้อ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินกระบวนการ จำนวน 46 ข้อ ฉบับที่ 4 ตอนที่ 1 แบบสอบถามสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพร้อมทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ จำนวน 20 ข้อ ฉบับที่ 5 ตอนที่ 1 แบบสอบถามสำหรับนักเรียนเพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 4 ตอนที่ 2 แบบสอบถามสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพร้อมทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อประเมินผลกระทบของโครงการ จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 5 ตอนที่ 2 แบบสอบถามสำหรับนักเรียนเพื่อประเมินผลกระทบของโครงการ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินโครงการ ปรากฏดังนี้
-
ก่อนดำเนินงานตามโครงการ (ปีการศึกษา 2555) พบว่า โรงเรียนชาติตระการวิทยาเป็นสถานศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอเพียง” สถานศึกษาที่มีความพร้อมทั้งด้านอาคารสถานที่ บุคลากร และงบประมาณ สามารถพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ อีกทั้งเป็นการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อเป็นต้นแบบและเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงแก่สถานศึกษาและหน่วยงานอื่น ๆ โดยความร่วมมือของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
2. การประเมินบริบทของโครงการ (Context Evaluation : C) โดยรวมอยู่ในระดับความสอดคล้องมาก (μ = 4.43) (σ= 0.66)
3. การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation : I) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.40) (σ= 0.64)
4. การประเมินกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation : P) โดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก (μ = 4.42) (σ= 0.63)
5. การประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation : P)
5.1 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพร้อมทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับความสำเร็จในการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก(μ = 4.40) (σ= 0.64)
5.2 ตามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับความสำเร็จในการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ = 4.48) (σ= 0.53)
6. การประเมินความพึงพอใจของโครงการ (Product Evaluation : P)
6.1 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพร้อมทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ = 4.43) (σ= 0.65)
6.2 ตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โครงการนี้สามารถทำให้ผู้อื่นที่อยู่รอบ ๆ ตัวสนใจ มาก(μ = 4.47) (σ= 0.56)
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนชาติตระการวิทยาเฉลี่ยทั้งปีการศึกษา 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2555 พบว่าเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 5.64
ผลจากการดำเนินโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตลอดทั้งปีการศึกษา 2556 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง ครอบคลุมทั้งด้านการบริหารและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียน นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยการบูรณาการ การจัดกิจกรรมด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ ทำให้ตัดสินใจได้ว่าควรจะมีการดำเนินโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนชาติตระการวิทยาต่อเนื่องเพื่อก้าวไปสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาต่อไป